สาขาวิชาทัศนศิลป์ ศิลปะการออกแบบและการจัดการวัฒนธรรม

ชื่อหลักสูตร

ชื่อภาษาไทยหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาทัศนศิลป์
ชื่อภาษาอังกฤษMaster of Fine and Applied Arts Program in Visual Arts, Art of Design and Cultural Management

ชื่อปริญญา

ชื่อภาษาไทย : ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ทัศนศิลป์ ศิลปะการออกแบบและการจัดการวัฒนธรรม)
ชื่อภาษาอังกฤษ : Master of Fine and Applied Arts (Visual Arts, Art of Design and Cultural Management)
อักษรย่อภาษาไทย : ศป.ม. (ทัศนศิลป์ ศิลปะการออกแบบและการจัดการวัฒนธรรม)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ : M.F.A. (Visual Arts, Art of Design and Cultural Management)

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

ไม่น้อยกว่า  39  หน่วยกิต

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร

แผน ก แบบ ก 2 ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

  • รูปแบบ หลักสูตรปริญญาโท
  • ภาษาที่ใช้  หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย
  • การรับเข้าศึกษา รับทั้งนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติ (นิสิตต่างชาติที่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ดี)
  • ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่น เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ
  • การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาเห็นชอบหลักสูตร


  • หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 เปิดสอน ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2565 ปรับปรุงจากหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560
  • สภาวิชาการให้ความเห็นชอบหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ 4/2565 วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2564
  • สภามหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ 5/2565 วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน


หลักสูตรมีความพร้อมในการเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาศิลปกรรมศาสตร์ พ.ศ. 2558 ในปีการศึกษา 2566

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

ประกอบอาชีพเป็น นักวิชาการ อาจารย์ทางด้านทัศนศิลป์และการออกแบบ ด้านการจัดการศิลปะวัฒนธรรม นักวิจัยสร้างสรรค์และนักออกแบบในวิชาชีพสาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ  นักพัฒนาระดับผู้นำในวิชาชีพสาขาทัศนศิลป์และการออกแบบ นักจัดการด้านศิลปะและวัฒนธรรมทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน ผู้ประกอบการอิสระในสายงานศิลปะและงานออกแบบ และวัฒนธรรม

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

  • ศ.เกียรติคุณ พงศ์เดช ไชยคุตร
  • ศ.ภรดี พันธุภากร
  • ผศ.ดร.ภูวษา  เรืองชีวิน

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

“หลักสูตรนี้มุ่งสร้างนักสร้างสรรค์ นักออกแบบในสาขาทัศนศิลป์ ศิลปะการออกแบบ รวมถึงนักวิจัย นักวิชาการ และนักบริหารจัดการด้านศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อนำทักษะความรู้ทฤษฎีด้านวิชาการและทักษะเชิงปฏิบัติการ ไปใช้พัฒนาแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมและงานออกแบบ รวมทั้งสามารถบูรณาการและประยุกต์ใช้ในงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม ส่งผลต่อความเป็นเลิศต่อการสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะที่มีคุณค่า รวมถึงสามารถเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์"

วัตถุประสงค์

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาทัศนศิลป์ ศิลปะการออกแบบและการจัดการวัฒนธรรม หลักสูตรปรับปรุง 2565 มีความต้องการผลิตมหาบัณฑิตด้านทัศนศิลป์ ศิลปะการออกแบบ และมีความรู้ด้านการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม โดยมีความเข้าใจทั้งด้านการวิจัย การจัดการความรู้ ทักษะแนวปฏิบัติการสร้างผลงาน และแนวคิดในการสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์และการออกแบบ เพื่อเข้าสู่การทำงานในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทัศนศิลป์ การออกแบบ และวัฒนธรรมทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน โดยร้อยละ 80 ของมหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้ จะสามารถประกอบอาชีพในหลากหลาย ทั้งนักสร้างสรรค์ ศิลปินและนักออกแบบ ทั้งทางสาขาทัศนศิลป์ ศิลปะการออกแบบ รวมถึงการเป็นนักวิจัย นักวิชาการ และนักบริหารจัดการด้านศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว มหาบัณฑิตจะมีสมรรถนะ ดังนี้

  1. มีความรู้ ความเข้าใจด้านการวิจัย และแนวคิดในการสร้างสรรค์ มีศักยภาพในการนำฐานความรู้จากศาสตร์ทางทัศนศิลป์และการออกแบบมาสร้างงานและจัดการงานศิลปะวัฒนธรรม รวมทั้งสามารถนำมาใช้แก้ปัญหา
  2. สามารถประยุกต์ความรู้ใช้ทางด้านการค้นคว้าวิจัยและการสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์และการออกแบบที่บูรณาการร่วมกับงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในการการประกอบอาชีพ
  4. มีความสามารถในการพัฒนาและสร้างสรรค์งานให้เกิดคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม เพื่อเข้าสู่การทำงานในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทัศนศิลป์และการออกแบบและการจัดการศิลปะวัฒนธรรม
  5. มีทักษะในการคิดสร้างสรรค์ สามารถทำงานทัศนศิลป์และออกแบบได้อย่างอิสระ ยืดหยุ่นและมีคุณภาพ สามารถเชื่อมโยงแนวคิดสู่การบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องทั้งงานศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อทำงานในหน่วยงานและองค์กรต่างๆและหรือสร้างงานและกิจการของตนเองได้ตามความถนัดและสนใจ

แผนของหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร
    แผน ก แบบ ก 2  ไม่น้อยกว่า   36  หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร
    แผน ก แบบ ก 2
        หมวดวิชาบังคับ                     12  หน่วยกิต    
        หมวดวิชาเลือกตามกลุ่ม Module  12  หน่วยกิต
        วิทยานิพนธ์                12  หน่วยกิต

รายวิชา

หลักสูตรแผน ก แบบ ก 2
หมวดวิชาบังคับ   12  หน่วยกิต

    63150165 ความเคลื่อนไหวของศิลปกรรมร่วมสมัยในช่วง 3 (3-0-6) คริสต์ศตวรรษที่ 19-20 Contemporary Art Movements in 19th–20th Century

    63150265 วิจัยศิลปกรรมและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ 3 (2-2-5) Art and Creative Culture Research

    63150365 วิจัยสร้างสรรค์ศิลปะไทย 3 (2-2-5) Creative Research in Thai Arts

    63150465 สัมมนาวัฒนธรรม ศิลปกรรม และการออกแบบ 3 (2-2-5)  Seminar in Cultural Arts and Design

    หมวดวิชาเลือก  12 หน่วยกิต

    โดยผู้เรียนจะต้องเลือกเรียนวิชาเอกในกลุ่ม Module ใดกลุ่มหนึ่งดังต่อไปนี้ กลุ่มวิชาเอก     *Module 1: กลุ่มวิชาทัศนศิลป์

    63151165 ปฏิบัติการงานทัศนศิลป์ 3 (1-4-4) Visual Arts Studio

    63151265 กระบวนการคิดงานทัศนศิลป์ 3 (2-2-5) Visual Arts Thinking

    63151365 กระบวนการคิดเชิงวิพากษ์ในงานทัศนศิลป์ 3 (2-2-5) Critical Analysis in Visual Arts

    63161165 สัมมนาปฏิบัติการสร้างสรรค์อย่างมืออาชีพ 3 (1-4-4) Seminar in Creative Profession Practice     *Module 2: กลุ่มวิชาการออกแบบ

    63152165 ปฏิบัติการงานออกแบบ 3 (1-4-4) Design Studio

    63152265 กระบวนการคิดงานออกแบบ 3 (2-2-5) Design Thinking

    63152365 กระบวนการคิดเชิงวิพากษ์ในงานออกแบบ 3 (2-2-5) Critical Analysis in Design

    63162165 สัมมนาปฏิบัติการสร้างสรรค์อย่างมืออาชีพ 3 (1-4-4) Seminar in Creative Profession Practice

        *Module 3: กลุ่มวิชาการจัดการวัฒนธรรม

    63153165 วัฒนธรรมและกระบวนการจัดการวัฒนธรรม 3 (3-0-6) Culture and Cultural Management Approach

    63153265 สื่อนวัตกรรมและการจัดแสดงวัฒนธรรม 3 (2-2-5) Innovative Media and Cultural Exhibits

    63153365 ภูมิปัญญาและผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมสร้างสรรค์ 3 (2-2-5)
                  Wisdom and Creative Cultural Products

    63163165 สัมมนาชุมชนสร้างสรรค์และการจัดการพื้นที่ทางวัฒนธรรม 3 (2-2-5) Creative Community and Cultural Space Management Seminar

    วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต

    63169965 วิทยานิพนธ์ 12 (0-0-36) Thesis

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

    อีเมล
    nikorn@go.buu.ac.th

    มือถือ
    08 1575 6395

    โทรศัพท์
    0 3810 2504

    ผู้ดูแล
    นายนิกร กาเจริญ

    ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง
    https://www.facebook.com/profile.php?id=100057698130310


    ค่าเล่าเรียนต่อปีการศึกษา (โดยประมาณ)
    เหมาจ่าย 2 ปี (4 เทอม / เทอมละ 60,000) 240,000 บาท บาท